ตามประวัติศาสตร์ น้ำหอมถูกใช้ครั้งแรกเมื่อ 4000
ปีก่อน ในสมัยเมโสโปเตเมีย ซึ่งใช้ในรูปแบบของการเผาให้เกิดกลิ่น
โดยสิ่งที่นำมาใช้เผาให้เกิดกลิ่นก็เช่น ยางไม้, ขี้ผึ้ง,หรือเปลือกไม้ต่างๆ
ซึ่งโดยมากมักใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนา ส่วนในชีวิตประจำวันก็มีการนำเปลือกไม้
น้ำมัน หรือยางไม้ที่มีกลิ่นหอมมาผสมรวมกันและเจือจากด้วยน้ำเพื่อใช้ทาตัว
และชาวเมโสโปเตเมียยังใช้น้ำหอมในการดองศพอีกด้วย
ส่วนในสมัยอียิปต์ตามหลักฐานที่ได้จากการศึกษาอักษร
Hieroglyphic พบว่าชาวอียิปต์รู้จักการเผาเครื่องหอมตั้งแต่ 3000
ปีก่อนคริสตกาล โดยราชินีอิยิปต์พระนามว่า Hatshepsut ทรงสนพระทัยและให้การสนับสนุนการเดินทางออกหาต้นไม้และดอกไม้ต่างๆที่มีกลิ่นหอมเพื่อนำมาใช้ในการปรุงน้ำหอม
โดยหลังจากที่พระนาง Hatshepsut สิ้นพระชนม์ชาวอียิปต์ได้ทำการสร้างสวนไม้หอมและตั้งแผ่นหินที่จารึกเรื่องราวต่างๆ
ของพระนางไว้เพื่อเป็นการสดุดี
โดยราชินีอิยิปต์องค์อื่นๆหลังจากพระนาง Hatshepsut
เช่นคลีโอพัตรา และ เนเฟอร์ติติ ก็ชื่นชอบน้ำหอมเช่นกัน
ราชินีคลีโอพัตรานั้นมีความสามารถในการใช้น้ำหอมเป็นอย่างยิ่งโดยเมื่อครั้งเสด็จไปรับ
มาร์ค แอนโทนี่ นักการเมืองชาวโรมันได้ทรงให้ทาใบเรือและตัวเรือทั้งหมดด้วย
น้ำหอมโดยเหล่าชาวโรมันที่รอการมาของพระนางนั้นสามารถได้กลิ่นน้ำหอมจากเรือที่ทรงนั่งมาก่อนที่จะเห็นตัวเรือด้วยซ้ำ
รูปภาพหลักฐานทางประวัติศาตร์ของน้ำหอมในสมัยอียิปต์โบราณ
อ่างอาบน้ำแบบโบราณของชาวโรมัน
ในยุคอียิปต์ช่วงแรกนั่นน้ำหอมถือเป็นของสูงผู้ที่สามารถมีน้ำหอมไว้ใช้ได้จึงมีเพียงฟาร์โร
และเหล่านักบวชที่นำน้ำหอมไปใช้ในการทำพิธีบูชา
เทพเจ้าเท่านั้นแต่ต่อเมื่อชาวอียิปต์สามารถผลิตน้ำหอมได้มากขึ้นเหล่านักบวชจึงได้อนุญาตให้มีการใช้น้ำหอมได้ทั่วไปดังนั้นน้ำหอมจึงเป็นสิ่ง
แพร่หลายในหมู่คนทั่วไปตั้งแต่นั้นมา
โดยในช่วงเวลานั้นมีกฎหมายบังคับให้ประชาชนชาวอียิปต์ต้องประพรมน้ำหอมอย่างน้อยสัปดาห์ละ
1 ครั้ง
ชาวอียิปต์รู้จักการอาบน้ำแบบห้องน้ำรวมก่อนชาวกรีกและโรมัน
โดยน้ำหอมเป็นสิ่งที่ทำให้การอาบน้ำของชาวอียิปต์มีความสนุกสนานมากขึ้นทั้งการอาบน้ำส่วนตัวที่บ้านและการอาบน้ำในห้องน้ำรวมก็จะมีการใช้เครื่องหอมต่างๆมากมายในบางครั้งการอาบน้ำอาจกินเวลานานมากและ
บ่อยกว่าวันละ 3 ครั้ง
โดยเหตุผลที่ชาวอียิปต์ชื่นชอบน้ำหอมนั่นเพราะว่านอกจากกลิ่นหอมที่ทำให้สดชื่นผ่อนคลายแล้ว
ตัวน้ำมันหอมยังช่วยทำให้ผิวพรรณชุ่มชื่นไม่แห้ง
อียิปต์นั่นตั้งอยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อนจึงมีการคิดค้นครีมทาตัวที่มีกลิ่นหอมและช่วยบำรุงผิวขึ้นอีกด้วย
โดยครีมของชาวอียิปต์นั้นทำขึ้นจาก
ยางไม้หอมที่นำมาปั้นเป็นรูปกรวยเมื่อจะใช้ก็จะนำมาใส่ภาชนะและตั้งไฟเพื่อให้ละลายเป็นครีมก่อนจะนำมาทาตัว
อ่างอาบน้ำของชาวโรมันโบราณ
ภาชนะบรรจุน้ำหอมของชาวอียิปโบราณ
ภาชนะใส่น้ำหอมของชาวอียิปต์นั่นมีหลากหลายทั้งที่ทำมาจาก
หิน,แก้ว,ไม้,กระเบื้องเคลือบ
หรือแม้แต่ทอง เพื่อใช้แสดงฐานะและความมั่งคั่ง
ของเจ้าของชาวอียิปต์ยังมีประเพณีความเชื่อที่จะนำน้ำหอมติดตัวไว้ใช้ทั้งตอนที่มีชีวิตอยู่และตอนตาย
นักโบราณคดีมักพบเหยือกใส่น้ำมันหอมในสุสานของชาวอียิปต์ตั้งแต่คนธรรมดาจนถึงฟาร์โร
เมื่อครั้งที่นักโบราณคดีขุดค้นสุสานของฟาร์โรตุตันคาเมน
จากการตรวจสอบมัมมี่นักโบราณคดีได้พบว่ามีการใช้เครื่องหอมมากมายเช่นยางไม้หอม
และอบเชยในขั้นตอนของการทำมัมมี่ โดยหลังจาก
เสร็จกระบวนการต่างๆแล้วจึงค่อยนำศพไปดองในน้ำหอมเป็นเวลาประมาณ 40 – 70
วันก่อนที่จะนำมาห่อฝัง และยังพบภาชนะที่ทำจากหิน
ควอซบรรจุน้ำมันหอมที่ยังคงกลิ่นหอมไว้ได้แม้เวลาจะผ่านมากว่า 3000
ปีแล้ว
ชาวอียิปต์รู้จักที่จะทำการติดต่อซื้อขายเครื่องหอมกับชาติอื่นเช่นอินเดีย
โดยได้มีการซื้อขายเครื่องเทศต่างๆอาทิ,ขิง,พริกไทย
และไม้จันทน์ เพื่อนำมาทำเป็นเครื่องหอมหลากหลายชนิด รวมไปถึงดอกไม้เช่น มะลิ,ลิลลี่,กุหลาบและรากของต้นออริส
(Orris)ซึ่งการค้าขายที่มั่งคั่งอย่าง
มากนี้ทำให้อียิปต์เป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านน้ำหอมในช่วงนั้น
ภาพตลาดสมัยอียิปต์โบราณ
วัฒนธรรมการใช้น้ำหอมยังคงเจริญเติบโตมาอย่างต่อเนื่องจนถึงยุคกรีกซึ่งสืบทอดวิธีการผลิตและใช้น้ำหอมมาจากชาวอียิปต์ก่อนจะส่งผ่าน
วัฒนธรรมนี้ไปยังชาวโรมันอีกทอดหนึ่ง
ในสมัยกรีกน้ำหอมนั้นทำมาจากการนำผงไม้หอมบดละเอียดมาผสมกับน้ำมันหอม
ภาชนะที่ใช้ในการ บรรจุน้ำหอมของชาวกรีกทำมาจาก alabaster หรือที่เรียกว่าเศวตศิลา
มีลักษณะเป็นหินปูนสีขาวบริสุทธิ์นำมาทำเป็นหลอดยาวประดับด้วยทอง
ในสมัยโรมันจักรพรรดิ Caracalla ทรงชื่นชอบน้ำหอมมากทรงสร้างห้องสำหรับเก็บเครื่องหอมโดยเฉพาะขึ้น
ในยุคของจักรพรรดิองค์นี้มีการใช้น้ำหอมอย่างมากมายและแพร่หลายจนแถบเกินความพอดี
คนธรรมดาทั่วไปจะใส่น้ำหอมวันละ 3 ครั้ง
ในงานเลี้ยงผ้าและเครื่องเรือนต่างๆ
ก็มีการประพรมน้ำหอมตลอดเวลาและมีการนำน้ำหอมใส่ให้กับนกแล้วจึงนำมาปล่อยให้บินไปรอบห้องเพื่อโปรยกลิ่นหอม
แม้กระทั้งสัตว์เลี้ยง เช่นหมาและม้าที่ขี่ก็มีการประพรมน้ำหอม
เหล่าคนใช้ก็จะมีเครื่องหอมเฉพาะตามลำดับชั้นทางสังคมของตัวเอง
เช่นเครื่องหอมที่มีกลิ่นสาบจากหนังสัตว์ กลิ่นมิ้นท์ และ กลิ่นของต้น Spikenard
เป็นต้น
หลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้รุกรานอียิปต์ในช่วง
ศตวรรษที่ 3
ก่อนคริสตกาลทำให้วิทยาการต่างๆทางด้านน้ำหอมมีการพัฒนาและแพร่หลายมากขึ้น
นักปรัชญาชาวกรีก Theophrastus ได้ทำการศึกษาเรื่องของกลิ่น
การแพร่ของกลิ่น ตัวนำกลิ่น กลไกการได้กลิ่นของ มนุษย์และความสัมพันธ์ของกลิ่นและรสขึ้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาของน้ำหอมในยุคนั้น
น้ำหอมยุคกลาง
กระบวนการผลิตของน้ำหอมได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ใช้การนำเครื่องหอมเช่นไม้เนื้อหอมหรือกำยานมาเผาบดผสมกันเข้าสู่ยุคของการใช้
แอลกอฮอล์มาเป็นตัวทำละลาย
โดยแอลกอฮอล์ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อหมอและนักเคมีชาวอาหรับชื่อ Avicenna
ประสบความสำเร็จในการค้นพบกระบวนการกลั่นและสร้างหลอดกลั่นขึ้นเป็นชาติแรก
โดยหลอดกลั่นนี้เป็นหลอดแก้วที่แบ่งเป็นหลายชั้นตามลำดับความสูงเพื่อให้ของ
เหลวที่มีจุดเดือดต่างกันสามารถถูกกลั่นแยกออกมาได้
โดยน้ำหอมกลิ่นแรกที่ได้ทำการทดลองกลั่นออกมาคือน้ำหอมกลั่นจากดอกกุหลาบ
และในช่วงเวลานั้นหลอดกลั่นยังถูกใช้ในการกลั่นเพื่อแยกแอลกอฮอล์ในกระบวนการผลิตเหล้าหรือแยกแอลกอฮอล์บริสุทธิ์เพื่อใช้ทำยาอีกด้วย
น้ำหอมเดินทางเข้าสู่ทวีปยุโรปในศตวรรษที่ 14
พร้อมกับการเข้ามาของชาวอาหรับที่นำความรู้และสินค้าต่างๆเข้าสู่ยุโรป
คนชาติแรกที่นำ น้ำหอมเข้าสู่ยุโรปคือชาวฮังกาเรี่ยนตามคำสั่งของราชินี Elizabeth
แห่งฮังการี่
น้ำหอมที่ชาวฮังกาเรี่ยนนำเข้ามานั้นมีส่วนผสมที่คล้ายกับ
น้ำหอมในยุคปัจจุบันโดยเป็นน้ำหอมที่ทำจากส่วนผสมของน้ำมันหอมและสารสะลายแอลกอฮอล์
น้ำหอมชนิดใหม่นี้มักเรียกกันทั่วไปว่า น้ำฮังการรี่ หรือ Hungary Waterซึ่งเป็นน้ำหอมที่แพร่หลายและเป็นต้นแบบของน้ำหอมในยุคต่อๆมา
พระนางอลิซาเบทแห่งฮังการี่
จนถึงศตวรรษที่ 16
ศาสตร์แห่งน้ำหอมได้เดินทางเข้าสู่ประเทศอิตาลีเมื่อราชินี Catherine de’
Medici แห่งฝรั่งเศสได้ให้ Rene le Florentin ช่างปรุงน้ำหอมส่วนตัวของพระองค์ทำการสร้างห้องทดลองสำหรับใช้ในการปรุงน้ำหอมของราชวงศ์ขึ้นในพระราชวังของพระนางเองหลังจากนั้น
เป็นต้นมาฝรั่งเศสก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางของน้ำหอมในยุโรป
เนื่องจากมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยแก่การผลิตน้ำหอมเช่นเป็นเส้นทางการค้าจึงสามารถหาวัตถุดิบที่หลากหลายมาใช้ในการปรุงน้ำหอมได้อีกทั้งมี
สภาพอากาศที่เหมาะกับการผลิตน้ำหอมและเหมาะกับเพาะปลูกดอกไม้หลากหลาย ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตหัวน้ำหอม
และปัจจัยสำคัญอีกส่วน
คือเนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากเหล่าเชื้อพระวงศ์จึงทำให้อุตสาหกรรมน้ำหอมของโลกตะวันตกได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่นี่
ในศตวรรษที่ 17
น้ำหอมประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่และได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในสังคมตะวันตก
น้ำหอมถูกใช้เป็นสัญลักษณ์การ
แสดงความมั่งคั่งหรูหราอีกทั้งยังถูกนำมาใช้สร้างความสะอาดและกลบกลิ่นอันไม่น่าพึงพอใจต่างๆอีกด้วย
ในช่วงสุดท้ายของยุคกลางน้ำหอมได้แพร่ออกไปทั่ว
โลกผ่านประเทศอังกฤษในช่วงของพระเจ้า Henry ที่
8 และราชินี Elizabeth ที่
1 ซึ่งเป็นยุดของลัทธิล่าอาณานิคมซึ่งทำให้น้ำหอมเดินทาง
ไปสู่ทวีปต่างๆของโลกพร้อมกับเส้นทางการค้า การล่าอาณานิคม
และการเข้ามาของค่านิยมแบบตะวันตก
น้ำหอมยุคใหม่
เมื่อเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 19
น้ำหอมได้เข้าสู่ช่วงของการผลิตแบบอุตสาหกรรมและแฟชั่น โดยสุดยอดน้ำหอมในยุคแรกได้เกิดขึ้นในปี
1920 เมื่อ Ernest Beaux นักทำน้ำหอมชาวรัสเซียซึ่งเดินทางมาอยู่ที่ปารีสและนำเสนอน้ำหอมให้กับ
Gabrielle Bonheur Chanel หรือที่รู้จักกันในชื่อ Gabrielle
Coco Chanel นักออกแบบแฟชั่นชื่อดังผู้ก่อตั้งแบรนด์ Chanel
น้ำหอม-chanel-no-5
โดยใช้ชื่อน้ำหอมว่า Chanel NO.5
ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นน้ำหอมที่โด่งดังที่สุดในโลกโดย Chanel NO.5
นี้มี Top note เป็นกลิ่นของ กระดังงาและ ดอกของต้นส้ม Middle
note เป็นกลิ่นมะลิและกุหลาบ ส่วน Base note เป็นกลิ่นไม้ของไม้จันทน์และหญ้า
Vetiver โดยน้ำหอม Chanel NO.5 นี้ได้รับการออกแบบให้เป็นกลิ่นที่เรียบง่ายสดชื่นสามารถใช้ได้ตลอดเวลาและเหมาะกับทุกโอกาส
จากนั้นเป็นต้นมา
อุตสาหกรรมน้ำหอมและแฟชั่นก็พัฒนาขึ้นทั้งวิธีการและเทคนิคในการกลั่นและผลิตน้ำหอม
ณ ปัจจุบันมีน้ำหอมมากมายหลายยี่ห้อหลากหลาย กลิ่นให้เลือกสรรค์
อ้างอิง
http://www.perfumes.com/eng/history.htm
http://www.fashion-
era.com/perfume_history.htm#Famous%20Early%20Perfumes
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น